Law

พระราชบัญญัติ

ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

พ.ศ. 2554

  • มาตรา ๘  ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงการกำหนดมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทำเอกสารหรือรายงานใด โดยมีการตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในวรรคหนึ่ง

    มาตรา ๑๖ กำหนดให้อธิบดีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

กฎกระทรวง
การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. 2565

———————–

หมวด ๒

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

———————–

ข้อ ๒๕ นายจ้างของสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวน 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าวคณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็นประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้าง
เป็นกรรมการความปลอดภัยในการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคสอง หากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง เป็นสถานประกอบกิจการในบัญชี 1 หรือบัญชี 2 ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้าง
ระดับบังคับบัญชาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพจำนวน1คน แล้วแต่กรณี เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการในการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคสอง หากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งเป็นสถานประกอบกิจการในบัญชี 3 ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนเป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการ 

ข้อ ๒๖ คณะกรรมการความปลอดภัยตามข้อ ๒๕ ให้มีจำนวน ดังต่อไปนี้ โดยต้องมีจานวนกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากัน
(๑) ไม่น้อยกว่า 5คน สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจานวน 50คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง100คน
(๒) ไม่น้อยกว่า 7คน สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวน 100คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 500คน
(๓) ไม่น้อยกว่า 11คน สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวน 500คนขึ้นไป

ข้อ ๒๗ การได้มาซึ่งกรรมการความปลอดภัยตามข้อ ๒๕ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา ให้นายจ้างแต่งตั้งจากลูกจ้างระดับหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรืออาจแต่งตั้งจากแพทย์หรือพยาบาลประจำสถานประกอบกิจการก็ได้
(๒) กรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนลูกจ้าง ให้มาจากลูกจ้างซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างระดับบังคับบัญชาเลือกกันเอง
หน้า ๑๗เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๓๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ มิถุนายนข้อ ๒๘ นายจ้างต้องจัดให้กรรมการความปลอดภัยได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย ภายใน 60วันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก เว้นแต่กรรมการความปลอดภัยผู้นั้นเคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวมาแล้ว

ข้อ ๒๙ กรรมการความปลอดภัยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2ปี
ให้นายจ้างดาเนินการแต่งตั้งหรือจัดให้มีการเลือกกรรมการความปลอดภัยใหม่ตามข้อ ๒๗ให้แล้วเสร็จภายใน 30วันก่อนวันที่กรรมการควาปลอดภัยครบวาระ

ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการแต่งตั้งหรือจัดให้การเลือกกรรมการความปลอดภัยใหม่ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้กรรมการความปลอดภัยซึ่งพ้นจากตาแหน่งตามวาระนั้นอยู่ใน
ตาแหน่งเพื่อดาเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการความปลอดภัยซึ่งได้มาใหม่เข้ารับหน้าที่

ในกรณีที่จานวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการลดลงเหลือน้อยกว่า 50คน ให้กรรมการความปลอดภัยดำเนินการต่อไปจนกว่าครบวาระ

ข้อ ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการความปลอดภัยพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) พ้นจากการเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
(๒) พ้นจากการเป็นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ

ข้อ ๓๑ การได้มาซึ่งกรรมการความปลอดภัยแทนตาแหน่งที่ว่าง ให้นายจ้างดำเนินการตามข้อ ๒๗ โดยอนุโลม และให้กรรมการความปลอดภัยซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือกแทนตาแหน่งที่ว่าง อยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการความปลอดภัยซึ่งตนแทน

ข้อ ๓๒ คณะกรรมการความปลอดภัยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เสนอต่อนายจ้าง

(๒) จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนราคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง

(๓) รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทางานและสภาพแวดล้อมในการทางานให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้างเพื่อความปลอดภัยในการทางานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ

(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทางานของสถานประกอบกิจการ

(๕) พิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานของสถานประกอบกิจการเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง

(๖) สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทางานและรายงานผลการสารวจดังกล่าวรวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้นในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง

(๗) พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้างหัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง

(๘) จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทางานที่ไม่ปลอดภัยต่อนายจ้าง

(๙) ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอต่อนายจ้าง

(๑๐) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปีเสนอต่อนายจ้าง

(๑๑) ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

(๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ข้อ ๓๓ ให้คณะกรรมการความปลอดภัยประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อกรรมการความปลอดภัยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร้องขอ
การประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการความปลอดภัยกาหนด
ในการประชุมแต่ละครั้ง ให้แจ้งกำหนดการประชุมและระเบียบวาระการประชุมให้กรรมการความปลอดภัยทราบไม่น้อยกว่าสามวันก่อนถึงวันประชุม เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือภยันตรายใด ๆ ที่เป็นเหตุให้ลูกจ้างหรือบุคคลภายนอกสูญเสียอวัยวะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ให้มีการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยโดยไม่ชักช้าเพื่อดำเนินการทบทวนรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันแก้ไขต่อนายจ้าง

ข้อ ๓๔ นายจ้างต้องเผยแพร่และปิดประกาศรายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการ
ความปลอดภัยโดยเปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15วันเพื่อให้ลูกจ้างทราบ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการความปลอดภัย ให้นายจ้างดำเนินการตามวรรคหนึ่งภายใน 7วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงให้นายจ้างปิดประกาศมติของที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยเกี่ยวกับความปลอดภัย
ในการทางานไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีมติ

ข้อ ๓๕ นายจ้างต้องจัดทำสำเนาบันทึกรายงานผลการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมเกี่ยวกับการดาเนินการของคณะกรรมการความปลอดภัย เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันจัดทา และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ เว้นแต่มี
การร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทางาน
แม้จะพ้นเวลาที่กาหนด ให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคาสั่งหรือคาพิพากษาถึงที่สุด
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
สำเนาบันทึกรายงานผลการดาเนินงานหรือรายงานการประชุมเกี่ยวกับการดาเนินการของคณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง นายจ้างอาจจัดทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน

ข้อ ๓๖ นายจ้างต้องเก็บหลักฐานการเปลี่ยนแปลงกรรมการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดังกล่าวไว้ในสถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และพร้อมที่จะให้พนักงาน
ตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ โดยอาจจัดเก็บในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ข้อ ๓๗ เมื่อนายจ้างได้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการความปลอดภัยเกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแล้ว หากข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะตามข้อ ๓๒ (๓) ให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อเสนอแนะโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่ข้อเสนอแนะเป็นข้อเสนอแนะตามข้อ ๓๒ (๑) (๒) (๕) หรือ (๗) ให้นายจ้างพิจารณาดาเนินการตามที่เห็นสมควร และหากนายจ้างไม่อาจดำเนินการตามข้อเสนอแนะได้ ให้แจ้ง
เหตุผลที่ไม่อาจดาเนินการได้ให้คณะกรรมการความปลอดภัยทราบด้วย