Law

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

  • มาตรา 14 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549

  • ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ โดยข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน อย่างน้อยต้องกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เพื่อควบคุมมิให้มีการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้นายจ้างต้องจัดให้มีการกระทำและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดระบบควบคุม กำกับ ดูแล โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ
  • ข้อ 4 ให้นายจ้างซึ่งมีผู้รับเหมาชั้นหรือผู้รับเหมาช่วงเข้ามาปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ จัดให้มีข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 สำหรับผู้รับเหมาดังกล่าว เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้รับเหมา ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
  • ข้อ 25(4) กำหนดให้คณะกรรมการความปลอดภัยฯ พิจารณาข้อบังคับ และคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  • ข้อ 34(3) กำหนดให้หน่วยงานความปลอดภัย มีหน้าที่จัดทำคู่มือและมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์

ที่มา : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

แนวทางการจัดทำคู่มือความปลอดภัย

ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทางาน จะประกอบด้วย

  1. ขั้นตอนและวิธีปฎิบัติงานที่ปลอดภัย ซึ่งจะมีความหมายในลักษณะเดียวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยที่รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
  2. สาหรับคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทางานจะเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อมูลสาคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทางาน เช่น นโยบาย เป้าหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ซึ่งรวมถึงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อแนะหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทางาน และมาตรการต่างๆ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทางาน การปฎิบัติงาน การฝึกอบรม การสอนงาน เป็นต้น

ส่วนประกอบของข้อบังคับและคู่มือว่าดวยความปลอดภัยในการทำงาน

  1. นโยบายอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  2. โครงสร้างการบริหารจัดการอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  3. บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยและบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง
  4. กฎความปลอดภัยต่างๆ เช่น กฎความปลอดภัยทั่วไป , กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน, กฎความปลอดภัยเฉพาะพื้นที่
  5. ขั้นตอนปฎิบัติงานอย่างปลอดภัย ( JSA )
  6. ขั้นตอนการปฎิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  7. ระเบียบปฏิบัติ/คาสั่งต่างๆที่เกี่ยวกับความปลอดภัย
  8. ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆตามความเหมาะสม

ขั้นตอนในการจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน

(1)     กำหนดผู้รับผิดชอบในการเตรียมร่างคู่มือ โดยกรณีที่สถานประกอบกิจการมีหน่วยงานความปลอดภัยให้หน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อจัดทำคู่มือตามขั้นตอน ดังนี้

–   กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา และรูปแบบของคู่มือ

–   จัดทำร่างคู่มือตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาและรูปแบบที่กำหนด

–   เสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณา

(2)     คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณาทบทวนร่างคู่มือ เพื่อแก้ไขปรับปรุง

(3)     คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานนำเสนอนายจ้างเพื่อให้ความเห็นชอบ

(4)     ดำเนินการจัดพิมพ์คู่มือฉบับจริง

(5)     แจกจ่ายคู่มือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ของสถานประกอบกิจการ

(6)     แก้ไขปรับปรุงคู่มือให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *