[wpdm_package id='6542']

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

บังคับใช้ 15 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมพอสมควรครับ

ยกเลิก   กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547

นิยาม “ที่อับอากาศ” (Confined Space) หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และมีสภาพอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงความจากกฎกระทรวงฯ อับอากาศ 2547 ที่สำคัญ ดังนี้

เพิ่มความในคำนิยาม “ที่อับอากาศ” (Confined Space)   ว่าเป็นที่ที่ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

เพิ่มคำนิยาม “สภาพอันตราย”

“สภาพอันตราย” หมายความว่า สภาพหรือสภาวะที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน

อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. มีวัตถุหรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดการจมลงของลูกจ้างหรือถมทับลูกจ้างที่เข้าไปทำงาน
  2. มีสภาพที่อาจทำให้ลูกจ้างตก ถูกกัก หรือติดอยู่ภายใน
  3. มีสภาวะที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจำกบรรยากาศอันตราย
  4. สภาพอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

และมีประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น

  • เพิ่มการระบุ ระยะเวลาในการจัดเก็บบันทึกผลการตรวจวัด การประเมินสภาพอากาศ และการดำเนินการเพื่อให้สภาพอากาศในที่อับอากาศไม่มีบรรยากาศอันตราย เป็นอย่างน้อย 1 ปี
  • ให้ผู้ควบคุมงานสามารถควบคุมการทำงานในที่อับอากาศได้หลายจุดการทำงานในบริเวณพื้นที่เดียวกันในคราวเดียวกันก็ได้ แต่ต้องสามารถมาถึงแต่ละจุดการทำงานได้อย่างรวดเร็วในทันทีที่มีเหตุฉุกเฉิน
  • เพิ่มหน้าที่ของผู้ควบคุมงานให้ต้องจัดทำแผนช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และหน้าที่ในการสั่งหยุดการทำงานไว้ชั่วคราวได้ทันที
  • เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศสามารถปฏิเสธการทำงาน หากเห็นว่าการทำงานนั้นไม่มีความปลอดภัย
  • เพิ่ม/เปลี่ยนรายละเอียดและหัวข้อในหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ ดังต่อไปนี้
    • เพิ่มหัวข้อ วิธีการปฏิบัติตนและการช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศในกรณีฉุกเฉิน
    • เพิ่มหัวข้อ ผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานในที่อับอากาศโดยมีใบรับรองแพทย์
  • ห้ามอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ หากรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตราย
  • ให้นายจ้างจัดให้มีหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด 12 ข้อตามที่กำหนด

ท่านสามารถศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามลิ้งนี้ครับ–>กฎหมายที่อับอากาศ 2562

ขอขอบคุณบทความดีดี จาก thaienvironmentblog

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *