สรุปสาระสำคัญของ : พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

Summary of : Safety, Occupational Health, and Environment at Work Act B.E. 2554 (2011)

วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา : 17 มกราคม 2554   

Announcement date in government gazette : 17th January 2011

กระทรวง : แรงงาน

Ministry : Labour

ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)

This shall be effective when it is beyond one hundred and eighty days from the announcement date in government gazette (16th July 2011).

พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่

(1) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

(2) กิจการอื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

This Act shall not be applied for:

(1) Central, regional and local government organizations.

(2) Whole or parts of other organizations stipulated in the Ministerial Regulations.

ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และกิจการอื่นตามที่กำหนดนั้นต้องจัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัตินี้

Central, regional and local government and other organizations as stipulated shall establish the standards in administrating and managing the safety, occupational health and environment at work within their organizations not less than those in accordance with this Act.

หมวด 1 บททั่วไป

Chapter 1: General provisions

ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย

Employer shall have duties in providing and keeping his or her enterprise and employees within safe and hygienic working conditions and environment, as well as enhance and promote employees’ workings to prevent from life, physical, mental and health hazards.

ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

Employees shall have duties in cooperating with their employer in implementing and promoting the safety, occupational health and environment at work to ensure the safety among themselves and enterprise.

หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Chapter 2: Administration, management and implementation of safety, occupational health and environment at work

ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง

Employer shall administrate, manage and implement the safety, occupational health and environment at work in compliance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations.

ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่จัดทำเอกสารหรือรายงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยเอกสารหรือรายงานนั้นต้องมีการตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น

Employer shall have duties in preparing documents or reports as stipulated in the Ministerial Regulations. These documents or reports shall be checked or certified by individuals or juristic persons as stipulated in the Ministerial Regulations.

และลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น

Employees shall have duties in following the safety, occupational health and environment at work criteria in accordance with the standards stipulated in such Ministerial Regulations.

บุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

Any individuals who intend to provide the services of measurement, inspection, test, certification, risk assessment, and training or consultation in order to promote the safety, occupational health and environment at work in accordance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations based on Section 8 shall be registered with the Occupational Safety and Health Bureau, the Department of Labour Protection and Welfare.

นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี

Any juristic persons who intend to provide the services of measurement, inspection, test, certification,risk assessment, and training or consultation in order to promote the safety, occupational health and environment at work in accordance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations based on Section 8 shall be given a license from the Director-General.

ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

Employer shall provide the safety officers, personnel, organizations, or groups of persons in order to perform the safety issues within his or her enterprise in accordance with the criteria, methods and conditions stipulated in the Ministerial Regulations.

ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับ อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน

If the employer assigns his or her employees to work in a working condition or environment that the employees may be exposed to life, physical, mental or health hazards, he or she shall inform his or her employees on the potential hazards due to such work and shall distribute all employees a work instruction before they start working or change their work or working location.

ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

Employer shall provide all managers, supervisors and employees the training on safety, occupationalhealth and environment at work so that they can administrate, manage and implement the safety,occupational health and environment at work safely.

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน

If the employer assigns his or her employees, changes their works and working location, or changes the machines or equipment that may cause the employees exposing to life, physical, mental and health hazards, he or she shall provide all employees the training before starting their work.

การฝึกอบรมดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

Above-mentioned training shall be in compliance with the criteria, methods and conditions as stipulated by the Director-General.

ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ

Employer shall post the hazard warning signs and marks related to safety, occupational health and environment at work, including the statements indicating the employer’s and employee’s rights and duties stipulated by the Director-General, at easily visible locations within his or her enterprise.

ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

If any location consists of many enterprises, every employer of all enterprises within that location shall have duties in commonly implementing the safety, occupational health and environment at work issues in compliance with this Act.

ลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย

Employees who work in enterprises, including those who work in other enterprises that are not owned by their employers, shall follow the safety, occupational health and environment at work criteria applicable for such enterprises.

ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่นเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา 8 มาตรา 16 มาตรา 18 และมาตรา 22

Managers or supervisors shall have duties in supporting and cooperating with the employer and other personnel in order to perform in compliance with Section 8, 16, 18 and 22.

ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยโดยคำนึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ

Employees shall have duties in looking after their environment at work in accordance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations based on Section 8 to ensure their life, physical, mental and health safety by taking into account the work conditions and responsible areas.

ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหาย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างานหรือผู้บริหาร แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า

If the employees know any noncompliance or damages and cannot correct by themselves, they shall inform the safety officers, supervisors or managers who shall then inform their employer by a writtennotice without delay.

ในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหายซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายจิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ต้องดำเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขตที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายทันทีที่ทราบ กรณีไม่อาจดำเนินการได้ ให้แจ้งผู้บริหารหรือนายจ้างดำเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า

If the supervisors know any noncompliance or damages that may cause the employees exposing to life, physical, mental or health hazards, they shall prevent such hazards within their responsible or assigned scope as immediately as having known. If these hazards cannot be prevented, the supervisors shall inform the managers or employer for correction without delay.

ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

Employer shall provide and supervise his or her employees to wear the personal protective equipment in accordance with the standards as stipulated by the Director-General.

ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่และดูแลรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน

Employees shall have duties in wearing and maintaining the personal protective equipment so that they can be effectively used within the nature and conditions of work throughout the working period.

ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้างเช่นเดียวกับนายจ้าง

Contractors and subcontractors in accordance with the labour protection law shall have duties in implementing the same safety, occupational health and environment at work issues as of the employees.

หมวด 3 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Chapter 3: Safety, Occupational Health and Environment at Work Committee

ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ โดยคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้

A committee shall be established called “Safety, Occupational Health and Environment at Work Committee” consisting of the Permanent Secretary of the Labour Ministry as the Committee President and shall have the authorities and duties as stipulated in this Act.

หมวด 4 การควบคุม กำกับ ดูแล

Chapter 4: Control, direction and supervision

ให้นายจ้างดำเนินการ

Employer shall

  1. จัดให้มีการประเมินอันตราย

Provide a hazard assessment.

  1. ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง

Examine the impacts of environment at work on the employees.

  1. จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

Establish a safety, occupational health and environment at work action plan and an operational control plan for employees and enterprise.

  1. ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการควบคุมตาม (1) (2)และ (3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

Submit the Director-General or his or her designates the results of a hazard assessment, an impacts examination, an action plan and an operational control plan in accordance with (1), (2) and (3).

ในการดำเนินการตามที่ระบุข้างต้นนี้นั้น นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและได้รับการรับรองผลจากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

In performing as above-mentioned statement, employer shall follow the suggestions of and be certified by an expert of safety, occupational health and environment at work.

ผู้ใดจะทำการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานจะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีตามพระราชบัญญัตินี้

Those who would act as an expert of safety, occupational health and environment at work shall be given a license from the Director-General in accordance with this Act.

ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน ให้นายจ้างแจ้งในทันที และ/หรือแจ้งเป็นหนังสือตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด

If any enterprise encounters a serious disaster or if an employee has an occupational accident, employer shall inform immediately and/or inform by a written notice as stipulated by the Director-General.

หมวด 5 พนักงานตรวจความปลอดภัย

Chapter 5: Labour inspector

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยมีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบสถานประกอบกิจการของนายจ้าง สอบถามข้อเท็จจริง หรือสอบสวน รวมทั้งตรวจสอบหรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเสนอแนะมาตรการป้องกันอันตรายต่ออธิบดี

In performing his or her duties, the labour inspector shall be authorized in entering and inspecting the employer’s enterprise, inquiring the facts or investigating, and shall check or submit the related documents and suggest the hazard preventive measures to the Director-General.

หมวด 6 กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Chapter 6: Safety, occupational health and environment at work fund

ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรียกว่า “กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัตินี้

A fund shall be established in the Department of Labour Protection and Welfare called “Safety, occupational health and environment at work fund” for financing the implementation of safety,occupational health and environment at work issues in accordance with this Act.

กองทุนนี้ประกอบด้วยเงินตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ตัวอย่างเช่น เงินรายปีที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เป็นต้น

This fund consists of financial sources as stipulated in this Act such as the annual money allocated from the provident fund in accordance with the providence law, etc.

เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ตัวอย่างเช่น ให้นายจ้างกู้ยืมเพื่อแก้ไขสภาพความไม่ปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคอันเนื่องจากการทำงาน เป็นต้น

The money of this fund shall be spent for businesses as stipulated in this Act such as lending to an employer for correcting the unsafe conditions or for preventing the occupational accidents and diseases,etc.

หมวด 7 สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Chapter 7: Safety, Occupational Health and Environment at Work Promotion Institute

ให้มีสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และมีอำนาจหน้าที่ดังที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้

The Safety, Occupational Health and Environment at Work Promotion Institute shall be established with purpose in promoting the safety, occupational health and environment at work and with authorities and duties as stipulated in this Act.

หมวด 8 บทกำหนดโทษ

Chapter 8: Penalty provisions

นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Employer who violates or disobeys the standards stipulated in the Ministerial Regulations based on Section 8 shall be punished with in maximum one year of imprisonment or four hundred thousand baht of fine, or both.

ผู้ใดมีหน้าที่ในการรับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน หรือรายงานตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 วรรคสอง กรอกข้อความอันเป็นเท็จในการรับรองหรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานหรือรายงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

Those who have duties in certifying or checking the evident documents or reports in accordance with the Ministerial Regulations based on the second paragraph of Section 8 fill in the false statements within such certification or checking of evident documents or reports shall be punished with in maximum six months of imprisonment or two hundred thousand baht of fine, or both.

ผู้ใดให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม หรือให้คำปรึกษาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Those who provide the services of measurement, inspection, test, certification, risk assessment, and training or consultation without a registration in accordance with Section 9 or without permission in accordance with Section 11 shall be punished with in maximum six months of imprisonment or two hundred thousand baht of fine, or both.

กำหนดโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตราต่างๆ และกรณีอื่นๆ

Stipulate the punishment of imprisonment or fine, or both, if the employer does not follow any Sections of This Act and other circumstances.

ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย

If the violated persons are a juristic person, if their violations are created by the direction or action of anyone or by not-direction or inaction which it is considered a duty of the managing director or of anyone who is responsible in the operation of such juristic person, such person shall be also punished as provided for such violation.

ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวกับกิจการของนายจ้างอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปกติวิสัยของนายจ้างจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผยซึ่งผู้นั้นได้หรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้หรือเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองแรงงาน การแรงงานสัมพันธ์ หรือการสอบสวนหรือพิจารณาคดี

Those who disclose the facts related to the employer’s enterprise that are normally undisclosed by the employer and that they have obtained or known these facts because of their actions in accordance with this Act shall be punished with in maximum one month of imprisonment or forty thousand baht of fine, or both, except the governmental disclosure for the sake of this Act or of labour protection, labour relations,or investigation or case hearing.

บทเฉพาะกาล

Temporary provisions

ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

Initially, the existing Safety, Occupational Health and Environment at Work Committee in accordance with the Labour Protection Act B.E. 2541 (1998) that is in the position as of the effective date of this Act shall perform their duties as the Committee in accordance with this Act until the new Committee in accordance with this Act will have been assigned. This shall not be more than one hundred and eighty days from the effective date of this Act.

ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎกระทรวงที่ออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

During the absence of the Ministerial Regulations, notifications, or orders in order to perform in compliance with this Act, the Ministerial Regulations based on the matter in Section 8 of the Labour Protection Act B.E. 2541 (1998) shall apply mutatis mutandis.

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก สมาชิกเว็บบอร์ด จป.คอม จากชื่อกระทู้ ​

สรุปสาระสำคัญ พรบ.ความปลอดภัย 2554 ภาษาไทย + อังกฤษ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *