พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562

สรุปเนื้อหาเพื่อความเหมาะสมในการนำไปใช้กับ ลูกจ้าง นายจ้าง และบุคคลทั่วไป

หมวด 1 หมวดทั่วไป

1. (มาตรา 8) ให้นายจ้าง เจ้าของ หรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ แจ้งข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากกการประกอบอาชีพแก่ลูกจ้าง หรือประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ

2. (มาตรา 9) ข้อมูลส่วนบุคคลจากการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การแจ้ง หรือการรายงานตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือเป็นความลับ

หมวด 5 การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม

3. (มาตรา 26) ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยหน่วยที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 25 ของพรบ.นี้

4. (มาตรา 27) ให้แรงงานนอกระบบมีสิทธิในการตรวจสุขภาพ โดยหน่วยที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 25 ของพรบ.นี้

5. (มาตรา 28) ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง แหล่งกำเนิดมลพิษจัดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ โดยหน่วยที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 25 ของพรบ.นี้

6. (มาตรา 30) ในกรณีที่บุคคลดังต่อไปนี้พบผู้ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจาก การประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม  ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

               6.1 นายจ้าง  ในกรณีที่พบลูกจ้างซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ ในสถานประกอบกิจการ

               6.2 ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล  ในกรณีที่พบลูกจ้าง  แรงงานนอกระบบ  หรือประชาชน ที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษตามมาตรา  28  วรรคสอง  ซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจาก การประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาล

หมวด 8 บทกำหนดลงโทษ

7. (มาตรา 38) นายจ้าง  เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษผู้ใด  ไม่ปฏิบัติตามมาตรา  8  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

8. (มาตรา 40) ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งข้อมูล  เอกสาร  หรือหลักฐานใด ๆ  ต่อคณะกรรมการ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท 

9. (มาตรา 43) นายจ้างที่จัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างตามมาตรา  26  แต่หน่วยบริการนั้น ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา  25  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

10. (มาตรา 44) เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่จัดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพของ ประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษตามมาตรา  28  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

11. (มาตรา 45) นายจ้างหรือผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  30  วรรคหนึ่ง  หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา  30  วรรคสอง  โดยไม่มีเหตุอันสมควร   ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

12 . (มาตรา 46) นายจ้าง  เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา  33  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

13. (มาตรา 47) ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา  35  วรรคสอง  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท 

14. (มาตรา 48) ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล  ถ้าการกระทำ ความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ  หรือการกระทำของบุคคลใด  หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ  หรือผู้จัดการ  หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบใน การดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น  ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ  ด้วย

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ :
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0215.PDF

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *