กระทรวงแรงงาน
พรบ.ความปลอดภัยฯ
เจตนารมณ์ : เพื่อวางมาตรการควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดี
ขอบเขต : ใช้บังคับกับผู้ประกอบกิจการ นายจ้างทั้งภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ ตลอดผู้ที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นส่วนราชการ แต่ต้องให้มีมาตรฐานในการบริหารจัดการไม่ต่ำกว่า พรบ. นี้
สาระสำคัญ 1.การบริหาร การจัดการและการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ 2.คณะกรรมการด้านความปลอดภัย 3.การควบคุมกำกับดูแล 4.พนักงานตรวจความปลอดภัย 5.กองทุนความปลอดภัย 6.สสปท.
พรบ.คุ้มครองแรงงาน
เจตนารมณ์ : เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง 1.ให้ได้รับการปฏิบัติจากนายจ้างอย่างเป็นธรรม 2.มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย มีสุขภาพอนามัยที่ดี 3.ได้รับค่าตอบแทนตามสมควร 4.ส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงาน
ขอบเขต : ใช้บังคับกับนายจ้าง/ลูกจ้างในกิจการจ้างงานทุกประเภทที่มีการจ้างงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ยกเว้นนายจ้างหรือกิจการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4
สาระสำคัญ : 1.กำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง 2.กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงาน การจ่ายค่าทดแทนในการทำงาน สวัสดิการ ค่าชดเชย 3.ส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองลูกจ้างบางกลุ่มที่อาจมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากลูกจ้างทั่วไป
ในชีวิตการทำงานเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะมีโอกาสเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ จนจำเป็นต้องหยุดงาน ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ และล่าสุดได้มีการประกาศ พ.ร.บ.เงินทดแทน
เป็นกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงาน ความปลอดภัยในกาทำงาน อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทน ค่าชดเชย บทลงโทษ นับเป็นกำหมายี่มีความจำเป็นต่อลูกจ้างและนายจ้าง
กระทรวงอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อควบคุมการดำเนินงานอุตสาหกรรมให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน ตลอดจนภาพแวดล้อมในสังคม ซึ่งในพระราชบัญญัติโรงงานฉบับนี้ ได้กำหนดให้การประกอบกิจการโรงงานประเภทต่างๆ ตระหนักถึงความจำเป็นในการควบคุมและป้องกันเหตุเดือดรอนความเสียหายและอันตราที่เกิดขึ้นรวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ คุณลักษณะ ประเภท และมาตรบานของเครื่องจักรอุปกรณ์ความปลอดภัยของแรงงาน ตลอดจนการควบคุมมลพิษให้เป็นไปตามข้อบังคับ
ในปัจจุบันการจำนองเครื่องจักรไม่อาจกระทำได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะเครื่องจักรมิใช่สังหาริมทรัพย์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักรขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีเงินทุนสำหรับดำเนินกิจการเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศในด้านอุตสาหกรรม
พรบ.วัตถุอันตราย
สาระสำคัญคือการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งจะมีประกาศรายชื่อของสารที่ต้องควบคุม ถ้าชื่อสารไม่ปรากฏในบัญชีรายชื่อ ก็ไม่อยู่ในการควบคุมตาม พ.ร.บ.นี้ ในประกาศบัญชีรายชื่อ จะกำหนดว่าสารใดเป็นอันตราย ชนิดใด หน่วยงานใดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อควบคุมการดำเนินงานอุตสาหกรรมให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน ตลอดจนภาพแวดล้อมในสังคม ซึ่งในพระราชบัญญัติโรงงานฉบับนี้ ได้กำหนดให้การประกอบกิจการโรงงานประเภทต่างๆ ตระหนักถึงความจำเป็นในการควบคุมและป้องกันเหตุเดือดรอนความเสียหายและอันตราที่เกิดขึ้นรวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ คุณลักษณะ ประเภท และมาตรบานของเครื่องจักรอุปกรณ์ความปลอดภัยของแรงงาน ตลอดจนการควบคุมมลพิษให้เป็นไปตามข้อบังคับ
กระทรวงมหาดไทย
เพื่อป้องกันภัยจากการควบคุมการก่อสร้างและการควบคุมการก่อสร้างในเขต เพลิงไหม้ ตลอดจนการก่อสร้างอาคารในเขตที่อาจรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว รวมทั้งเหตุ อื่น ๆ ที่อาจเกิดแก่อาคาร พระราชบัญญัตินี้ จึงเป็นการบัญญัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร
กระทรวงสาธารณสุข
การแพร่กระจายของโรคติดต่อที่รุนแรงและก่อให้เกิดโรคระบาดมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งโรคติดต่อที่อุบัติใหม่และโรคติดต่อที่อุบัติซ้ำ ประกอบกับประเทศไทยได้ให้การรับรองและดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการนี้ จึงต้องพัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ
โดยที่ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพและโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มจะมีความรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีกลไกในการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ สมควรกำหนดให้มีแนวทางในการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยับยั้งมิให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้