Services

บริการการวิเคราะห์และประเมินท่าทางการทำงาน ตามหลักการยศาสตร์

การวิเคราะห์และประเมินท่าทางการทำงาน ตามหลักการยศาสตร์

การยศาสตร์ คือหลักการออกแบบสถานีงานให้เหมาะสมกับพนักงาน โดยคำนึงถึงความสามารถและขีดจำกัดของร่างกายมนุษย์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายหลักของการยศาสตร์ เพื่อป้องกันพนักงานจากความเมื่อยล้าและความไม่สบายในการทำงาน ที่เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูกได้ ทั้งนี้ความผิดปกติ อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกและส่วนบุคคล พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตได้ ด้วยเหตุประการนี้ บริษัทมากมายต่างให้ความสำคัญด้านการยศาสตร์ เพื่อปรับสถานีงานให้เหมาะสมกับการทำงานและสร้างความปลอดภัยในชีวิตการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงของท่าทางการทำงานและสำรวจความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกเนื่องจากการทำงาน

2. เพื่อเฝ้าระวังแนวโน้มการเกิดโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal Disorders) เนื่องจากการทำงาน

3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวเนื่องจากการเข้ารักษาฟื่นฟูความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงาน

ขอบเขต

แผนกงานที่ต้องการประเมิน

เครื่องมือที่ใช้

1. แบบประเมิน REBA/RULA
2. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
3. ภาพการทำงาน(นิ่ง+เคลื่อนไหว)

ข้อมูลที่พึ่งมี

1.ข้อมูลพนักงาน
2.ข้อมูลลักษณะงาน
3.ข้อมูลสถานีงาน

ข้อมูลที่ได้

1.ทิศทางการแพร่กระจายและการระเบิด

2.ขอบเขตและระยะของผลกระทบที่เกิดขึ้น

3.ความรุนแรงของเหตุการณ์

4.แนวทางการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน

สิ่งที่ได้รับจากการใช้บริการกับเรา

1.ระดับความเสี่ยงในการประเมินท่าทางการทำงาน โดยเครื่องมือ REBA/RULA

2.จุดชี้เฉพาะของปัญหาท่าทางการทำงานที่ผิดวิธี โดยเครื่องมือการประเมิน

3.มาตรการป้องกันการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดเกิดโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal Disorders) อันเนื่องจากการทำงานผิดท่าทาง

4.ข้อเสนอแนะการปรับสถานีงานให้เหมาะสมกับการทำงาน

5.ข้อเสนอแนะการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อลดการปวดเมื่อยจากท่าทางการทำงาน

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ E-mail: Contact@SDeC.com หรือช่องทางอื่นๆ

**อ้างอิง วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์